วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Classroom Design - Feng Shui For Learning

ในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา มีนักทดลองที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดห้องเรียนอย่างใกล้ชิด พวกเขาสละเวลาเพื่อจัดโต๊ะเรียนภายในห้องเรียน โดยอิงกับเป้าหมายในแต่ละว่า หลังจากการทดลองบางอย่างก็ประสบผลสำเร็จ พวกเขาพบว่าการจัดห้องเรียนนั้นส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแน่นอน 



การจัดวางรูปแบบของห้องตามจินตนาการของเรา มันควรจะมีส่วนช่วยในการขยายขอบเขตของการเรียนรู้   การปรับเปลี่ยนรูปแบบของห้องเรียนก็จะช่วยให้นักเรียนปรับเปลี่ยนรูปแบบมุมมองในการเรียนได้ด้วย  ไม่ควรที่จะยึดติดกับรูปแบบเดิมๆที่เอาแต่เรียงที่นั่งเป็นแถวๆแบบตัวใครตัวมัน  แนะนำให้ลองจัดรูปแบบใหม่ๆ อาศัยการใช้พื้นที่เพื่อสร้างความรู้สึกมีชีวิตชีวา สร้างประสบการ์ณใหม่ๆ และนั่นจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กอยากจะเรียนมากขึ้น การจัดห้องบางรูปแบบก็จะช่วยให้เกิดเทคนิคการสอน หรือ การเรียนรู้แบบใหม่ๆ ผ่านการปรึกษาหารือในกลุ่ม หรือ ผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น พวกกระดาน SMART Board เป็นต้น การจัดห้องอาจจะเรียกได้ว่าเป็น การนำฮวงจุ้ยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดห้องเรียนเลยก็ว่าได้

เมื่อนักเรียนก้าวเข้ามาสู่ในห้องเรียนและพบกับรูปแบบใหม่ๆ พวกนักเรียนอาจจะชอบทั้งแบบที่คาดการ์ณไว้แล้ว หรือ แบบที่ไม่ได้คาดการ์ณมาก่อน (ครูมาแอบจัดไว้ล่วงหน้า) พวกเขาชอบการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าเขาจะไม่ได้คิดมาก่อนว่าจะเจอแบบนั้น แต่เพราะว่ามันจะเป็นประสบการณ์ที่สำคัญอย่างนึงของพวกเขาเลยทีเดียว นักเรียนเริ่มต้นที่จะมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ผ่านการจัดห้องเรียนในรูปแบบใหม่ๆนี้  และสิ่งนี้มันจะช่วยเพิ่มพูนทักษะในเรื่องของการคิด การมีส่วนร่วมของกลุ่ม ความสามัคคี หรือ ภาวะผู้นำ นอกจากห้องเรียนจะถูกจัดในรูปแบบใหม่ๆแล้ว สื่อที่ใช้สำหรับการเรียน ก็ควรจะมีการปรับปรุงไปเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของห้องเรียนด้วยเช่นกัน


ในชั้นเรียนของผู้ทำการทดลอง โชคดีที่ห้องเรียนที่กำการทดลองมีโต๊ะกับเก้าอี้ไม้เดี่ยวๆที่แยกจากกัน ซึ่งยืดหยุ่นในการจัดด้วยรูปแบบที่หลากหลาย พวกเขาเอาโต๊ะครูวางไว้มุมซ้ายด้านหลังห้อง มีสมาร์ทบอร์ดอยู่หน้าห้อง การออกแบบจะเป็นไปตามรูปข้างล่างที่เห็น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ค้นพบว่ามีประสิทธิภาพ


Senatorial (แบบรัฐสภา)  นี่คือรูปแบบการจัดที่นั่งแบบหนึ่งที่นักเรียนชื่นชอบ พวกเขาจะรู้ได้ทันทีเลยว่ารูปแบบการเรียนของวันนี้จะเป็นแบบอภิปราย ถกเถียงกัน ในห้องเรียน รวมถึงการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆกลางหน้าห้อง การจัดห้องในลักษณะนี้ มักจะวางโพเดียมไวัตรงกลางห้อง เพื่อจะได้สะดวกต่อผู้พูด ในการเดินไปรอบๆอย่างทั่วถึง หรือแม้แต่ในช่วงที่เพื่อนมีpresentation การจัดห้องในลักษณะนี้จะสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้นักเรียนที่ฟังอยู่ได้ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนรอบๆข้างได้



Independent (แบบอิสระ)  การจัดโต๊ะเรียนในรูปแบบนี้ เป็นการจัดโต๊ะตามรูปแบบการเรียนในสมัยก่อนที่จุดศูนย์กลางอยู่ที่อาจารย์ โดยที่นักเรียนจะถูกจัดให้นั่งแยกออกจากกัน  เพื่อให้สนใจแต่สิ่งที่อาจารย์กำลังพูด การเรียนการสอนในลักษณะนี้ค่อนข้างจะขัดแย้งกับหลักการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นหลัก จึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะในลักษณะนี้ถูกกลับมาใช้อีกครั้งในกรณีที่นักเรียนต้องทำงานเดี่ยว เช่น นักเรียนหนึ่งคน ต่อ computer หนึ่งตัวหรือ iPad หนึ่งเครื่อง ในกรณีที่นักเรียนนั่งแยกจะทำให้นักเรียนมีสมาธิ และสะดวกต่ออาจารย์ที่สามารถเดินดูการทำงานของนักเรียนรวมถึงให้คำปรีกษาได้ทั่วถึง อีกทั้งมีพื้นที่ในกรณีที่อาจารย์สามารถเอาเก้าอี้ตัวเล็กๆมานั่งข้างๆนักเรียนได้ 



Seminar (รูปแบบสัมนา)
  รูปแบบนี้จะช่วยให้ได้รับประโยชน์ของการสนทนาและการแบ่งปัน การเล่าเรื่องในหนังสือ และการให้ทำเวิร์คช็อปแบบที่ต้องใช้การเขียนจะเหมาะกับรูปแบบนี้ คุณครูจะนั่งที่เก้าอี้ตัวหนึ่งในนั้นและมีสถานะเท่ากับนักเรียนคนหนึ่ง แบบนี้จะให้ความรู้สึกที่ไม่มีผู้นำ ดังนั้นจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่มากกว่าแบบอื่น


Cooperative (แบบความร่วมมือ หรือ กลุ่ม)
  เป็นรูปแบบที่แสดงถึงการจัดกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งให้ประโยชน์ที่หลากหลาย นักเรียนจะถูกสอนให้รู้จักแก้ไขปัญหาแบบกลุ่ม คุณครูสามารถจะนั่งในกลุ่มที่ต้องการให้ความสนใจเป็นพิเศษก็ได้  


Pairs (แบบคู่ หรือ แบบพึ่งพา)
 แบบนี้มีประโยชน์มากเมื่อนักเรียนต้องใช้การแชร์ Laptop หนังสือ หรือ ทำงานร่วมกัน เป็นคู่ ในกรณีที่นักเรียนเป็นเลขคี่ตัวกลุ่มก็อาจจะจัดโต๊ะที่สามเพิ่มขึ้นมา การจัดแบบนี้จะเหมาะสมสำหรับการมีสื่อการเรียนบางอย่างที่ต้องปรีกษากันเป็นคู่ หรือ ทำโครงงานแบบคู่


partnered (แบบพาร์ทเนอร์) partnered (แบบพาร์ทเนอร์) รูปแบบนี้ต่างกับแบบคู่ คือเน้นให้นักเรียนหันหน้าเข้าหากันและมีการโต้ตอบกัน (Interaction) โดยลักษณะนี้คุณครูก็สามารถเดินดูในแต่ละกลุ่มได้ ยกตัวอย่างเช่นให้นักเรียนจะได้จำลองสถานะการณ์ว่าคนนึงเป็นทนายกำลังสอบสวนพยาน หรือเป็นตัวแทนจากพรรคเดโมแครทและรีพับบลิกันและให้อภิปรายกัน


Debate (แบบโต้วาที หรือ ดีเบท)  แต่ละทีมต้องนั่งแยกกันเืพื่อกำหนดกลยุทธ์ของตัวเอง และต้องหันหน้าเข้าหากัน อาจารย์จะอยู่ที่โพเดียมตรงกลางซึ่งจะไม่ค่อยมีบทบาืทอะไรมากในการเรียนการสอนลักษณะนี้ นักเรียนที่นั่งแต่ละโต๊ะจะเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย SMARTboardตรงกลางมีไ้ว้เพื่อจดประเด็นที่สำคัญ



Theater (แบบโรงละคร)  เป็นอีกรูปแบบการเรียนที่ดีที่สุดอีกรูปแบบนึงที่นักเรียนไม่ต้องจดโน็ต ในกรณีนี้อาจไม่จำเป็นต้องมีโต๊ะเรียน การจัดห้องเรียนในลักษณะนี้ นักเีรียนจะนั่งเก้าอี้ใกล้ๆกัน ส่วนโต๊ะก็จะไปตั้งไว้ข้างห้อง อาจารย์จะเป็นผู้สังเกตการณ์ในขณะที่นักเรียนกำลังชมภาพยนต์ หรือสล้บไปดู SMARTboard หรือดู presentation ของเพื่อนๆ


Simulations (แบบการจำลอง) เปลี่ยนนักเรียนในกลายเป็นนักแสดงที่มีการสวมบทบาท ห้องเรียนเปรียบเสมือนเป็นบริบทที่จำลองจากโลกแห่งความเป็นจริง อาจจะจำลองการตัดสินของศาอาญาในคดีอาชญากรรม โดยจะมีนักแสดงเป็น โจทย์ จำเลย ผู้พิพากษา คณะลูกขุน มีส่วนที่เป็น แท่นทนายความและเก้าอี้ศาล หรือตัวโต๊ะจะถูกดันออกไปอยู่ด้านนอก ห้องเรียนอาจจะกลายเป็นการโหวดในรัฐสภา หรือ แม้แต่ปราสาทในยุคกลาง หรือค่ายทหารบริเวณชายแดน (จำลองยุทธวิธีการรบเลย)

Credit : http://theasideblog.blogspot.com/2012/05/classroom-design-feng-shui-for-learning.html
Special Thank : Chanya Vonghirunpinyo (คุณแฟน)
สนใจโต๊ะนักเรียน สั่งซื้อได้ที่นี่ www.tangyongfurniture.com




ครุภัณฑ์สำหรับโรงเรียน : ชุดโต๊ะนักเรียน โต๊ะโรงอาหาร ตู้หนังสือ โต๊ะครู




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น