วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไม้ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชื่อ

ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง ราคาแพงบ้าง ถูกบ้าง นอกจากนี้ ตัวไม้ยังมีชื่อมากมาย เช่น ไม้ชนิดเดียวกัน แต่นำไปปลูกกันคนละประเทศก็มีชื่อแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ไม้เต็ง ในภาษาอังกฤษ บางทีก็เรียก Selanganbatu เซรังกันบาตู (ไม่รู้อ่านถูกป่าวนะ) บางที่ก็เรียก Balau (บัลเลา)  แต่จริงๆแล้วมันก็คือไม้ชนิดเดียวกัน แต่บางทีอาจจะต้องเรียกว่ามันอยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้ บางทีสีมันต่างกัน ก็อาจจะมีเรียกแยกย่อยต่างกันไป เช่น เต็งเหลือง เต็งแดง เต็งมาเลย์ เต็งไทย มีชื่อได้อีกมากมายวุ่นวายไปหมด นอกจากนี้มันยังมีชื่อทางวิทยาศาสตร์อีก อย่างไม้เต็งนี่ชื่อ Shorea ชอเรีย (ไม่รู้อ่านถูกหรือเปล่าอีกรอบ)

คราวนี้ถ้าเราจะหาข้อมูลในเรื่องของชื่อไม้ ก็มีฝรั่งมั่งค่า เขารวบรวมเอาไว้เป็นฐานข้อมูลแล้ว ซึ่งสามารถไปดูได้ที่ WOOD DATABASE  โดยเราก็แค่พิมพ์ชื่อไม้ที่สงสัยลงไป ว่ามันอาจจะถูกเรียกในชื่อที่เรารู้จักก็ได้นะ เช่น ไม้ Red Cumaru (ดูของญี่ปุ่นมา คูมารุ) จริงๆก็คือ Brazilian Teak นั่นเอง นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติของไม้ให้ เช่น พวกความเค้น ความเครียด อะไรในไม้ (ไม้มันก็เครียดเป็นนะพี่น้อง)
ส่วนถ้าอยากรู้ว่า ชื่อไม้ของไทยเนี่ย ฝรั่งเค้าเรียกกันว่าอะไร ก็ให้ไป search ใน google ประมาณนี้
ไม้ฉำฉา ชื่อทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างข้อมูลของไม้เต็ง

Common Name(s): Balau
Scientific Name: Shorea spp.
Distribution: Southeast Asia
Tree Size: 150-200 ft (45-60 m) tall, 3-6 ft (1-2 m) trunk diameter
Average Dried Weight: 53 lbs/ft3 (845 kg/m3)
Specific Gravity (Basic, 12% MC): .62, .84
Janka Hardness: 1,560 lbf (6,940 N)
Modulus of Rupture: 18,400 lbf/in2 (126.9 MPa)
Elastic Modulus: 2,560,000 lbf/in2 (17.66 GPa)
Crushing Strength: 10,000 lbf/in2 (69.0 MPa)
Shrinkage: Radial: 6.2%, Tangential: 11.4%, Volumetric: 17.6%, T/R Ratio: 1.8

ถ้าเราไม่รู้จักค่าอันไหนก็เอาไป search ดูใน google อีกทีละกัน หรือ ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างไม้ 2 ชนิดก็ได้ ถ้าจะเลือกซื้อมาเพื่อใช้งาน

อีกตัวอย่างนึง

ไม้ฉำฉา

Common Name(s): Monkeypod, Monkey Pod
Scientific Name: Samanea saman (syn. Albizia saman, Pithecellobium saman)
Distribution: Central and South America, also planted/naturalized in many tropical regions of the world
Tree Size: 100-125 ft (30-38 m) tall, 3-4 ft (1-1.2 m) trunk diameter
Average Dried Weight: 38 lbs/ft3 (600 kg/m3)
Specific Gravity (Basic, 12% MC): .48, .60
Janka Hardness: 900 lbf (4,010 N)
Modulus of Rupture: 9,530 lbf/in2 (65.7 MPa)
Elastic Modulus: 1,149,000 lbf/in2 (7.92 GPa)
Crushing Strength: 5,790 lbf/in2 (39.9 MPa)
Shrinkage: Radial: 2.0%, Tangential: 3.4%, Volumetric: 6.0%, T/R Ratio: 1.7

รายละเอียดคุณสมบัติ
Modulus of Rupture
โมดูลัสแตกร้าว
กำลังประลัยที่กำหนดได้จากการทดสอบแรงดัดโค้งหรือแรงบิด ในการการทดสอบแรงดัด โมดูลัสการแตกร้าวการดัดงอคือความเค้นเส้นใยสูงสุดที่ทำให้เกิดความเสียหาย ในการทดสอบแรงบิด โมดูลัสการแตกร้าวจากแรงบิดคือค่าความเค้นเฉือนสูงสุดของเส้นใยทรงกลมที่ทำให้เกิดความเสียหาย คำที่สามารถใช้แทนกันได้คือความแข็งแรงดัดและความแข็งแรงบิด

Elastic Modulus (ความสามารถในการยืดหยุ่น มั้ง)มอดุลัสของยัง (Young's modulus) หรือ มอดุลัสของสภาพยืดหยุ่น (modulus of elasticity หรือ elastic modulus) เป็นค่าบอกระดับความแข็งเกร็ง (en:stiffness) ของวัสดุ ค่ามอดุลัสของยังหาจาก ค่าลิมิตของอัตราการเปลี่ยนแปลงของ ความเค้น (stress) ต่อ ความเครียด (strain) ที่ค่าความเค้นน้อย สามารถหาจากความชัน ของกราฟความสัมพันธ์ ความเค้น-ความเครียด (en:stress-strain curve) ที่ได้จากการทดลองดึง tensile test

ค่ามอดุลัสของยัง นั้นมีประโยชน์ใช้ในการคำนวณพฤติกรรมในการรับแรงของวัสดุ ตัวอย่างเช่น สามารถใช้ในการคาดคะเน ความยืดของลวดในขณะรับแรงดึง หรือคำนวณระดับแรงดันที่กดลงบนแท่งวัสดุ แล้วทำให้แท่งวัสดุยวบหักลง ในการคำนวณจริงอาจมีค่าอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย เช่น
 มอดุลัสของแรงเฉือน (shear modulus) อัตราส่วนของปัวซง (en:Poisson's ratio) และ ความหนาแน่น

Crushing Strength
ความสามารถในการทนต่อแรงบีบอัด



Shrinkage
การแตกของไม้ เกิดขึ้นในแนวไหน กี่%

รวบรวมแบบโต๊ะอาหารน่าๆ สไตล์ญี่ปุ่น

เป็นสไตล์ที่ออกแนวเรียบง่าย ดูโมเดิร์นและแฝงด้วยความอบอุ่น ความน่ารักในตัว ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนใหญ่มักจะดูบางเบา ไม่หนาเทอะทะ เหมือนสไตล์ยุโรปหรืออเมริกา



















วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

Design Award Chair

Mazunte เป็นเก้าอี้เตี้ย รูปทรงโมเดิร์นที่ถูกสร้างจากไม้อัดบีช เพียงแผ่นเดียว ถ้าเอาเก้าอี้นี้คลี่ออกในแนวราบจะเหมือนเป็นไม้อัดแผ่นเดียว ส่งเข้าประกวดในงาน  9th Andreu World International Design Competition


Mazunte
สามารถซ้อนกันได้
ผลิตขึ้นจากไม้อัดบีช เพียงแผ่นเดียว

2.) Seoto Dining Chair (เซโอโตะ)
รางวัล Good Design Awards 2012 : ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ในตำนานอย่าง  Motomi Kawakami ที่ใช้ไม้โอ๊คและวอลนัทของญี่ปุ่น มาผลิตเก้าอี้ที่ได้สมดุลในเรื่องของการนั่งและรูปร่างที่อ่อนช้อย นอกจากนี้ตัวเก้าอี้ยังออกแบบให้สามารถซ้อนกันได้อีกด้วย

SEOTO Dining Chair

จัดเป็นชุด

3.) Branca Chair
ได้รับรางวัลของ The Brit Insurance Design Awards เป็นเก้าอี้ที่ดูอ่อนช้อยมาก ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ Sam Hecht , Brand : Mattiazi ของอิตาลี

Branca Chair - Winning of The Brit Insurance Design Awards
4.) Corvo Chair
ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชาวฝรั่งเศส Noé Duchaufour-Lawrance ได้รางวัล Red Dot Design Award 2011 เก้าอี้ที่ออกแบบมาได้ดูแข็งแรง แต่แฝงไปด้วยความนุ่มนวล ลื่นไหล ดูเป็นธรรมชาติ

Corvo Chair

รายละเอียดด้านหลัง

Noé Duchaufour-Lawrance เจ้าของผลงาน
5.) Arne Jacobsen Egg Chair
ออกแบบโดย Arne Jacobsen เฟอร์นิเจอร์สัญชาติเดนมาร์ก ออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี 1958 โดยวางอยู่ในล็อบบี้ของโรงแรมโคเปนเฮเกน ในเว็บ icollector.com เปิดประมูลเก้าอี้ตัวนี้ โดยราคาที่ถูกประมูลได้สูงถึง 19000 USD เลยทีเดียว จากนั้นก็มีเวอร์ชั่น Replica ออกมาอีกเพียบจ้า

Arne Jacobsen Egg Chair

วันนี้พอแค่นี้ก่อน ไว้จะเอาผลงานของดีไซน์เนอร์ระดับโลก อย่าง
 Charles Eames, Hans Wegner and Eero Aarnio  มาให้ดูกัน








วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

Home/Office Library Design Collection


สำหรับใครๆหลายคนที่หลงใหลไปกับหนังสือต่างๆ และอยากมีโซนที่เป็นห้องสมุดส่วนตัว วันนี้เราได้รวบรวมไอเดียสำหรับการตกแต่งห้องสมุดในบ้าน หรือ ภายในสำนักงาน มาให้ชมกัน

การใช้พื้นที่ในโถงทางเดินให้เกิดประโยชน์
ใช้ชั้นหนังสือแทนกำแพง
จัดเรียงแบบกลมกลืนไปกับผนังเลย
ใส่ส่วนเว้า ส่วนโค้ง มีการปิดและเปิด สร้างมิติที่ดึงดูดสายตา


Home Library By Mobileffe
The library designed by Kaare Klint at Design Museum Denmark

Home Library By Andrew
การใช้สีส้มเป็นฉากหลัง สร้างสีสรรให้กับห้อง
ใช้พื้นที่กำแพง ให้ได้ประโยชน์สูง (สูงจริงๆนะ)

สำหรับท่านที่ต้องการตกแต่งห้องสมุดเล็กๆภายในบ้าน หรือเลือกซื้อชั้นหนังสือ ตู้ใส่หนังสือ  อาจจะลองปรึกษากับอินทีเรียหรือร้านเฟอร์นิเจอร์เพื่อกำหนดรูปแบบ ให้เหมาะสมกับพื้นที่และจำนวนหนังสือของคุณ

สำหรับแนวทางในการออกแบบ ห้องสมุดสำหรับโรงเรียน อาจจะแตกต่างจากห้องสมุดบ้าน เนื่องจากต้องคำนึงถึงการเพิ่มจำนวนของหนังสือ ที่จัดซื้อมาใหม่ในแต่ละปี รวมถึงการคัดแยกหนังสือเก่าล้าสมัย เพื่อบริหารพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับครุภัณฑ์ห้องสมุด นิยมใช้แบบลอยตัว เพราะสามารถเพิ่มเติม ย้ายตำแหน่งหรือเอาออกได้สะดวกกว่ามาก