วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วัตถุดิบประเภท -ไม้-

ไม้ เป็นวัตถุดิบที่ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งระยะเวลาในการผลิตไม้ของธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ ไม้แต่ละชนิด แต่ละประเภท มีระยะเวลาเติบโตที่แตกต่างกัน ซึ่งจากวันที่เริ่มปลูก ประคบประหงม จนถึง ต้นไม้มีขนาดพอสมควร เหมาะแก่การตัด เพื่อนำมาแปรรูป ให้ใช้งานได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่งาน ก่อสร้าง งานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่ง ของใช้ภายในครัว

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้
ระยะเวลาในการเติบโตของไม้ ก็ต่างกันเยอะมากในแต่ละชนิด บางชนิด 3 ปีก็พอนำมาใช้งาน บางชนิดอาจจะต้องถึง 20 ปี ถึงจะนำมาใช้งาน และถ้าอยากได้ไม้ที่คุณภาพดีขึ้น อาจจะต้องรออีกหลายปี เพื่อให้ได้ขนาด และ เนื้อไม้ที่แน่น-แกร่งพอที่จะนำมาใช้งาน

สมมุติว่าปลูกไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีระยะเวลาเติบโตพอที่สามารถตัดไม้นั้นมาใช้งานคือ 10 ปี หมายความว่า ถ้าเราต้องการจะใช้ไม้ชนิดนั้น ณ วันนี้ เราก็ต้องมาลุ้นๆว่า เมื่อ 10 ปีก่อน มีคนปลูกไม้ชนิดนั้นเพียงพอ (หรืออาจจะต้องมาจากป่าไหน สักป่าสินะ) กับความต้องการของมนุษย์อย่างเราๆท่านๆ หรือไม่

ไม้ที่ได้จากป่า

ดังนั้นเป็นไปได้ว่า ณ วันนี้ เราอาจจะไม่มีไม้ชนิดที่ต้องการ หรือ ถ้ามีแต่น้อย ราคาไม้ก็จะสูงขึ้นด้วยตามหลัก Demand Supply 

ไม้ที่ตัดมา มันก็เป็นท่อนซุง ต้องนำมาแปรรูป (ผ่า) ให้ได้ขนาดที่ต้องการใช้ ซึ่งโดยปรกติ คนที่ต้องการซื้อไม้มาใช้ ก็ไม่ใช่คนผ่า , ธุรกิจที่ทำหน้าที่ผ่าไม้ นี้ เราเรียกว่า โรงเลื่อย คือนำซุงมาผ่าให้ไม้นั้นออกมาเป็นขนาดต่างๆกัน โดยโรงเลื่อยอาจจะรับออเดอร์มาจาก ร้านค้าที่ขายไม้ หรือ อาจจะต้องมาวิเคราะห์ว่าจะผ่าไม้อย่างไร ให้ได้มูลค่าสูงสุด และ "ขายได้"

ไม้ซุง
ไม้แปรรูป


รูปแบบการผ่าไม้แปรรูป
ไม้ซุง 1 ท่อน ก็มีวิธีการผ่าอยู่หลายแบบ ดูจากในรูป เห็นมี อยู่ 3 แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็คงมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป และการผ่า ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเอาไม้หนาแค่ไหน จะตัดให้สั้น ให้ยาวเท่าไหร่ ก็ต้องมาคำนวนกันให้ดี สังเกตุ ทั้ง 3 วิธีเมื่อผ่ามาแล้ว มูลค่ารวมของไม้ที่ได้จะแตกต่างกัน

โดยปรกติ ไม้ที่ใหญ่ๆ (หน้ากว้างและหนา) ยาวๆ ย่อมมีราคาเทียบกับปริมาตรไม้ ที่สูงกว่า ไม้เล็กๆสั้น อยู่แล้ว แต่ยิ่งไม้ใหญ่ ความต้องการใช้ไม้หน้าใหญ่อาจจะมีน้อยกว่าไม้เล็ก และ ราคาขายถึงผู้บริโภคก็ย่อมแพงกว่าด้วย ดังนั้นถ้าเลือกที่จะทำแต่ไม้ใหญ่ๆมาเยอะๆ ก็อาจจะขายช้า เป็นต้น




การสั่งไม้ของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์

สมมุติว่าต้องการทำโต๊ะขนาด ยาว 1.50 ม. แต่ว่าไม้ที่หาได้ในขณะนั้นดันมีแต่ 2 ม.

ถ้าซื้อไม้ยาว 2 ม. มาตัดใช้งาน มันก็จะเหลือ 50 ซม. ที่ไม่รู้ว่าจะได้ใช้ไม้นั้นเมื่อไหร่

และธุรกิจที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง มันก็จะสะสมเศษเหล่านี้ ซึ่งเป็นความสูญเสีย ที่ปล่าวประโยชน์

เศษไม้ที่เหลือจากการผลิต
เศษไม้ที่เหลือจากการผลิต

ดังนั้นผู้สั่งไม้ อาจจะต้องดูว่า ถ้าเอาไม้ 3.00 ม. มาตัดได้ 1.50 ม. 2 ตัว ก็จะทำให้ไม่มีเศษเกิดขึ้น แต่เนื่องจากไม้ที่มาจากธรรมชาติ อาจจะเกิดการบิด งอ โค้ง แอ่น ได้อีก ดังน้ันจะผลิตงานอะไร  ก็จำเป็นต้องสั่งไม้เผื่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

นอกจากนี้ ไม้ยาว ที่ไม่หนามาก จะมีอัตราการบิด งอ ที่มากกว่า ไม้สั้น ดังนั้น ไม้ 3.00 ม. ก็ย่อมมี
ความเสี่ยงจากส่วนนี้มากขึ้น


อาการของไม้บิด งอ

นอกจากนี้ ในเรื่องของราคาไม้ ไม้ 3.00 ม. ก็มีแนวโน้มของราคาที่อาจจะสูงกว่าไม้ 2.00 ม. อีกด้วย (หรืออาจจะเท่ากันก็เป็นได้)

ดังนั้นถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการรับออเดอร์ที่หลากหลาย มีพื้นที่ในการเก็บวัตถุดิบจำนวนมาก
อาจเลือกที่จะสั่งไม้ยาว 2.00 ม. และใช้งานเพียง 1.50 ม. ก็ได้ ส่วนเศษที่เหลือก็จะเก็บไว้ใช้งานอื่น

โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ขนาดเล็ก


โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ขนาดใหญ่

ดังนั้นบุคลากรผู้ที่จะต้องทำการคำนวนราคาสินค้าและสั่งไม้มาเพื่อใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์  ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องสินค้าเป็นอย่างดี และ อาศัยศิลปะในการจัดการกับไม้ เพื่อลดความสูญเสียจากวัสดุให้ได้มากที่สุด

สนับสนุนบทความโดย
TangYongFurniture.com : ผู้ผลิต เฟอร์นิเจอร์ไม้ ,ครุภัณฑ์ราชการ , โต๊ะนักเรียน ,โต๊ะระดับ
- MuMuuFurniture.com : ผู้ผลิตและจำหน่าย โต๊ะอาหาร ,เก้าอี้อาหาร, เฟอร์นิเจอร์สำหรับร้านอาหาร หอพัก คอนโด

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

เครื่องจักรงานไม้ - เครื่องไสชิดไม้ (Jointer)



Jointer

เครื่องไสชิดไม้ หรือ เรียกว่าเครื่องไสเพลาะไม้ (jointer) เป็นเครื่องจักรงานไม้ที่ใช้สำหรับการไสขอบไม้ให้เรียบและได้ฉาก โดยหลังจากขอบไม้ทั้งซ้ายและขวาเรียบได้ฉากแล้วก็จะนำไปไสให้ได้ความหนาตามต้องการด้วยเครื่องไส (planer หรือ thicknesser)




ส่วนประกอบของเครื่องไสเพลาะไม้ (jointer)


1. หัวตัด (Cutter Head)

มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กรูปทรงกระบอกตัน โดยหัวตัดจะมีใบมีดตั้งแต่ 3 ใบขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักร หัวตัดจะหมุนด้วยการส่งกำลังจากมอเตอร์ด้วยสายพาน มายังที่หัวตัดและทิศทางการหมุนก็จะสวนกับทิศทางของไม้ที่เราป้อนเข้าไป ดังแสดงในรูป





หัวตัดแบบ Helix Cutter

2. แท่นหน้า (Infeed Table) และ แท่นหลัง (Outfeed Table)

ส่วนแท่นที่ยื่นออกมา เพื่อรองรับไม้ยาวๆของเรา ที่เราจะป้อนผ่านตัวหัวตัดไป ทั้งขาเข้าและขาออก นอกจากใช้เป็นจุดที่รองรับไม้แล้ว มันสามารถปรับระดับ ขึ้น-ลง ของตัวแท่นได้ เพื่อกำหนดว่าจะให้ใบมีดกินเนื้อไม้เข้าไปมากน้อยเพียงใด ในการไสแต่ละรอบ


3. รั้ว (Fence)

มีลักษณะเป็นเหล็กยึดกับติดกับแท่นหลัง ยาวไปตามตัวเครื่อง สามารถเลื่อนได้ตามความกว้างของแท่นเครื่อง และปรับเอียงเพื่อไสเป็นมุมกับแท่น 45-90 องศา

กรณีปรับเอียง 45 องศา


4. การ์ดคลุมหัวตัด (Guard)

ส่วนสำหรับคลุมใบมีด และ หัวตัด อาจจะทำมาจากวัสดุหลายชนิด โดยติดตั้งอยู่กับแท่นเสริม โดยถูกดึงด้วยสปริงให้ครอบคลุมหัวตัดอยู่ตลอดเวลา เป็นส่วนที่เอาไว้ safety



5. มือหมุนปรับแท่นหน้า

(Front table Adjusting wheel) เอาไว้ปรับระดับความสูงต่ำแท่นหน้า

6. มือหมุนปรับแท่นหน้า

(Front table Adjusting wheel) เอาไว้ปรับระดับความสูงต่ำแท่นหลัง

7. สวิตซ์ปิดเปิด

8. ช่องส่งขี้กบ (Saw Dust)

9. ฐานเครื่อง (Base)

สำหรับรองรับแท่นเครื่อง

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องไสเพลาะไม้





Credit
  • http://www.startwoodworking.com/
  • หนังสือเรื่อง "เครื่องจักรงานไม้" ของอ.ชาญวิศ พิศอ่อน

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

อาชีพช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ ตอนที่ 2 - ประเภทของเครื่องเรือน





แบ่งประเภทเครื่องเรือน จากวัสดุที่ใช้ในการผลิต
1.) เครื่องเรือนไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง
     เครื่องเรือนที่ผลิตจากไม้เนื้อแข็ง โดยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีความแข็งและมีความคม เช่น ใบเลื่อยต้องใช้แบบที่แข็ง จึงจะสามารถตัดไม้เนื้อแข็งได้ ยกเว้น ไม้สัก ซึ่งเป็นไม้ที่อยู่ในกลุ่มที่เนื้อไม้ไม่ได้แข็งมากนัก และง่ายต่อการแกะสลัก หรือ กลึงให้เป็นรูปทรง ไม้เนื้อแข็งที่ใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนไม้สักที่ใช้กันในไทย ก็นิยมนำเข้าจากพม่า หรือไม่ก็ใช้ไม้สักป่าปลูก หรือ ที่เรียกว่าไม้สักสวนป่า ซึ่งไม้จะค่อนข้างอ่อน มีกระพี้อยู่ ทำให้ลวดลาย หรือ สีสรรดูยังไม่ค่อยจะสวยงามมากนัก

2.) เครื่องเรือนไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา
    สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ส่งออก นิยมใช้ไม้ยางพารามาก เพราะไม้ยางพาราที่ผ่านการอบและอัดน้ำยา ทำให้เนื้อไม้มีความแข็งแรงที่เหมาะแก่การทำเครื่องเรือน และป้องกันพวกปลวกและมอดได้ดี ปัจจุบันไม้ยางพาราก็มีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก ชาวจีนหอบหิ้วเงินสดมาซื้อไม้ยางพาราของไทยกลับไปทำเฟอร์นิเจอร์ส่งกลับมาขายในไทย  นอกจากนี้เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราก็นิยมส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย อาทิ ญี่ปุ่น
นอกจากนี้ในบ้านเรา ก็นิยมใช้ไม้สน(เกรดไม้พาเลท) ไม้ฉำฉา (จามจุรี) ในการทำเครื่องเรือนที่ราคาค่อนข้างถูก ข้อดีคือราคาค่อนข้างจะถูก แต่มีข้อเสียอยู่ตรงที่ เมื่อใช้ไปนานๆ ไม้จะเป็นขุยๆ และอายุการใช้งานไม่ค่อยยาวนานมากนัก
ส่วนไม้สนเรดิเอต้า ไม้สนนิวซีแลนด์ ก็เป็นอีกเกรดนึง คือ ราคาก็จะสูงกว่าไม้ยางพารา และนิยมนำไปผ่านกระบวนปรับโครงสร้างของไม้ด้วยการใช้ความร้อน (Heat Treatment / Thermo Treatment) เพื่อให้ไม้มีความแข็งแกร่ง ไม่ผุง่าย และแมลงไม่กิน

3.) เครื่องเรือนที่ทำจากหวาย
  ปัจจุบันมีทั้งหวายแท้ และหวายเทียม , หวายเทียมนิยมนำเข้าจากต่างประเทศ และมีคุณสมบัติในการทนทานต่อแสงแดด น้ำ สามารถใช้งานกลางแจ้งได้ ต่างจากหวายแท้ ที่ใช้ได้แต่ในร่มเท่านั้น

4.) เครื่องเรือนที่ทำจากไม้แผ่นเรียบ เช่น ไม้อัด ไม้ปาร์ติเกิ้ล เอ็มดีเอฟ(หรือชื่อไทยเรียกว่า แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง)

คุณสมบัติของเครื่องเรือนที่ทำจากไม้อัด ค่อนข้างจะแตกต่างจาก ไม้ปาร์ติเกิ้ลหรือเอ็มดีเอฟ  ไม้อัดผลิตขึ้นมาจากการปลอกเนื้อไม้เป็นแผ่นแล้วนำมาอัดซ้อนๆกัน ไม้อัดถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อประหยัดทรัพยากรประเภทไม้ หรือเรียกว่าใช้ไม้ให้มีประโยชน์สูงสุด ส่วนใหญ่ไม้อัดที่มีความหนา คุณสมบัติเชิงกลของไม้จะเทียบเท่ากับไม้จริงที่มีความหนาเท่าๆกัน หรือบางครั้งอาจจะแข็งแกร่งกว่าสำหรับไม้อัดที่มีการเรียงตัวของชั้นเยอะๆ  ซึ่งเครื่องเรือนที่ผลิตจากไม้อัดนี้โดยมากนิยมใช้ไม้จริงมาทำเป็นโครงและกรุด้วยไม้อัดที่บางๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต สภาพภายนอกจะไม่แตกต่างจากการใช้ไม้จริงมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยไม้อัดจะนำไปใช้สำหรับทำพวกแผงตู้ หน้าโต๊ะเป็นต้น นอกจากนี้ ไม้อัดยังต้องการ การทำสี แบบเดียวกับไม้จริงทั่วไป

ส่วนในกรณีของงานปาร์ติเกิ้ล (เกิดจากไม้สับ หยาบและสับละเอียด นำมาซ้อนกันเป็นชั้น) และ MDF นี่นิยมจะใช้ที่เป็นแผ่นๆตามความหนาเลย เพราะราคามันค่อนข้างถูกอยู่แล้ว  และผิวหน้าของไม้ทั้ง 2 อันนี้จะมีอยู่หลายชนิด ตั้งแต่ถูกสุดคือ ผิวกระดาษ (หรือเรียกว่า ฟอล์ย) ผิว PVC และ ผิวเมลามีน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนการขีดข่วน และ ทนต่อสารเคมี  โดยผิวต่างๆเหล่านี้ มีทั้งแบบที่เป็นสีพื้นๆ และเป็นลายไม้ ข้อเสียๆหลักๆคือมันอ่อนแอต่อความชื้น หากอยู่ในที่ๆมีความชื้นสูง อาจจะทำให้เกิดอาการ "บวม" อย่างที่ทราบๆกันในช่วง น้ำท่วมนั่นเอง


วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

การทำแผงไม้ตีโครงกรุด้วยไม้อัด

การทำแผงไม้ตีโครง กรุด้วยไม้อัด ตอนที่ 1





การทำแผงไม้ตีโครง กรุด้วยไม้อัด ตอนที่ 2


วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

โต๊ะครู

แบบครุภัณฑ์โต๊ะทำงาน ที่นำมาใช้เป็น โต๊ะครู ในห้องเรียน หรือ ห้องพักครู

โดยแต่ละรูปแบบและการใช้งานที่อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกครุภัณฑ์สำหรับโรงเรียนได้ สิ่งที่ต้องคำนึงคือฟังก์ชั่นการใช้งาน ระดับราคา วัสดุ การจัดส่ง การรับประกัน และรูปแบบที่ชอบ

1.) โต๊ะระดับ 1-2 (โต๊ะทำงานข้าราชการระดับ 1-2)

http://www.tangyongfurniture.com/product-detail.php?id=92755

รายละเอียด

-  โต๊ะระดับ 1-2 ออกแบบมาให้สามารถจัดเก็บกระเป๋า หรือ เอกสารในตู้บานเปิดด้านขวาได้
เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเก็บของอะไรมาก รูปแบบเรียบง่ายนี้ จึงเหมาะสมกับการใช้งานภายในห้องเรียน แต่สำหรับในห้องพักครู อาจจะต้องเก็บเอกสาร หรือ ของใช้ของคุณครูที่มากขึ้น แบบนี้จึงยังไม่เหมาะเท่าไหร่นัก
-  ขนาด : W120 x D60 x H75
-  วัสดุที่ใช้ โครงเคร่าไม้เนื้อแข็ง กรุด้วยไม้อัดสักอิตาลี ลายเส้น ขาเหล็กกล่อง ขนาด 1"  หน้าโต๊ะหนา 3 ซม.
- ระดับราคา : ประมาณ 2000-3000 (ระดับราคาท้องตลาด แบบขายเป็นชุดพร้อมเก้าอี้)


2.) โต๊ะระดับ 3-6 (โต๊ะทำงานข้าราชการระดับ 3-6)

http://www.tangyongfurniture.com/product-detail.php?id=92757

รายละเอียด

-  โต๊ะรระดับ 3-6 ออกแบบมาให้สามารถจัดเก็บกระเป๋า (เก็บกระเป๋าได้ทั้งด้านซ้ายและขวา) และมีลิ้นชักสำหรับใส่เอกสาร, ของใช้ที่จำเป็น หน้าโต๊ะค่อนข้างกว้าง จึงมีพื้นที่ในการทำงานค่อนข้างเยอะ
โต๊ะครูรูปแบบนี้มีที่สามารถจัดเก็บของได้หลากหลาย จึงเหมาะในการใช้ที่ห้องพักครู
-  ขนาด : W150 x D80 x H75
-  วัสดุที่ใช้ โครงเคร่าไม้เนื้อแข็ง กรุด้วยไม้อัดสักอิตาลี ลายเส้น ขาเหล็กกล่อง ขนาด 1"
-  ระดับราคา : ประมาณ 3000-5000 (ระดับราคาท้องตลาด แบบขายเป็นชุดพร้อมเก้าอี้)


3.) โต๊ะระดับ 7-9 (โต๊ะทำงานข้าราชการระดับ 7-9)

http://www.tangyongfurniture.com/product-detail.php?id=93369

รายละเอียด

-  โต๊ะรระดับ 7-9 ออกแบบมาให้สามารถจัดเก็บกระเป๋า (ด้านขวา) และมีลิ้นชักสำหรับใส่เอกสารทางด้านซ้ายถึง 3 ลิ้นชัก , และลิ้นชักสำหรับเก็บเครื่องเขียนหรือของเล็กๆน้อยด้านขวา  หน้าโต๊ะค่อนข้างกว้าง จึงมีพื้นที่ในการทำงานค่อนข้างเยอะ
โต๊ะครูรูปแบบนี้มีที่สามารถจัดเก็บของได้หลากหลาย จึงเหมาะในการใช้ที่ห้องพักครู โดยเฉพาะคุณครูที่จำเป็นต้องใช้ลิ้นชักในการเก็บเอกสารจำนวนมาก
-  ขนาด : W150 x D80 x H75
-  วัสดุที่ใช้ โครงเคร่าไม้เนื้อแข็ง กรุด้วยไม้อัดสักอิตาลี ลายเส้น ขาเหล็กกล่อง ขนาด 1"
-  ระดับราคา : ประมาณ 5000-7000 (ระดับราคาท้องตลาด แบบขายเป็นชุดพร้อมเก้าอี้)

4.)  โต๊ะครู 3 ลิ้นชัก

http://www.tangyongfurniture.com/product-detail.php?id=95675


รายละเอียด

- โต๊ะครูที่มีลิ้นชักสำหรับจัดเก็บเอกสารถึง 3 ลิ้นชัก เหมาะสำหรับใช้ในห้องเรียน ตัวโต๊ะไม่กว้างมากแต่ลึกถึง 80 ซม. นักเรียนสามารถนั่งฝั่งตรงข้าม เพื่อใช้สอบนักเรียนรายบุคคลได้
-  ขนาด : W120 x D80 x H75
-  วัสดุที่ใช้ โครงเคร่าไม้เนื้อแข็ง *กรุด้วยไม้อัดสักธรรมชาติลายภูเขา ขาเหล็กกล่อง ขนาด 1"
-  ระดับราคา : ประมาณ 2000-4000 (ระดับราคาท้องตลาด แบบขายเป็นชุดพร้อมเก้าอี้)

5.)  โต๊ะทำงานราชา 4 ฟุต (หัวเดียว)

http://www.tangyongfurniture.com/product-detail.php?id=93553


รายละเอียด

- โต๊ะทำงานราชา มีฟังก์ชั่นในการใช้งานคล้ายโต๊ะครู 3 ลิ้นชัก แต่มีการเพิ่มลิ้นชักกลางยาวเพิ่มขึ้น สามารถเก็บเอกสารหรือเครื่องเขียนเพิ่มเติมได้ เหมาะสมกับการใช้ในห้องเรียน ตัวโต๊ะทำด้วยไม้ทั้งหมด ให้อารมณ์อบอุ่นคลาสิกดี
-  ขนาด : W120 x D60 x H75
-  วัสดุที่ใช้ โครงเคร่าไม้เนื้อแข็ง กรุด้วยไม้อัดสักอิตาลี ขาทำด้วยไม้เบญพรรณ
-  ระดับราคา :  - 

5.)  โต๊ะทำงานราชา 5 ฟุต (สองหัว)

http://www.tangyongfurniture.com/product-detail.php?id=95674

รายละเอียด

- โต๊ะทำงานราชา กว้าง 5 ฟุต แบบ 2 หัว มีตู้บานเปิดสำหรับเก็บกระเป๋า(ฝั่งซ้าย) และมีลิ้นชักสำหรับเก็บของด้านขวา 3 ลิ้นชัก เนื่องจากมีที่เก็บของอยู่มาก จึงเหมาะสมกับการใช้งานในห้องพักครู ตัวโต๊ะทำด้วยไม้ทั้งหมด ให้อารมณ์อบอุ่นคลาสิกดี
-  ขนาด : W150 x D60 x H75
-  วัสดุที่ใช้ โครงเคร่าไม้เนื้อแข็ง กรุด้วยไม้อัดสักอิตาลี ขาทำด้วยไม้เบญพรรณ
-  ระดับราคา :  - 













วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไม้ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชื่อ

ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง ราคาแพงบ้าง ถูกบ้าง นอกจากนี้ ตัวไม้ยังมีชื่อมากมาย เช่น ไม้ชนิดเดียวกัน แต่นำไปปลูกกันคนละประเทศก็มีชื่อแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ไม้เต็ง ในภาษาอังกฤษ บางทีก็เรียก Selanganbatu เซรังกันบาตู (ไม่รู้อ่านถูกป่าวนะ) บางที่ก็เรียก Balau (บัลเลา)  แต่จริงๆแล้วมันก็คือไม้ชนิดเดียวกัน แต่บางทีอาจจะต้องเรียกว่ามันอยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้ บางทีสีมันต่างกัน ก็อาจจะมีเรียกแยกย่อยต่างกันไป เช่น เต็งเหลือง เต็งแดง เต็งมาเลย์ เต็งไทย มีชื่อได้อีกมากมายวุ่นวายไปหมด นอกจากนี้มันยังมีชื่อทางวิทยาศาสตร์อีก อย่างไม้เต็งนี่ชื่อ Shorea ชอเรีย (ไม่รู้อ่านถูกหรือเปล่าอีกรอบ)

คราวนี้ถ้าเราจะหาข้อมูลในเรื่องของชื่อไม้ ก็มีฝรั่งมั่งค่า เขารวบรวมเอาไว้เป็นฐานข้อมูลแล้ว ซึ่งสามารถไปดูได้ที่ WOOD DATABASE  โดยเราก็แค่พิมพ์ชื่อไม้ที่สงสัยลงไป ว่ามันอาจจะถูกเรียกในชื่อที่เรารู้จักก็ได้นะ เช่น ไม้ Red Cumaru (ดูของญี่ปุ่นมา คูมารุ) จริงๆก็คือ Brazilian Teak นั่นเอง นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติของไม้ให้ เช่น พวกความเค้น ความเครียด อะไรในไม้ (ไม้มันก็เครียดเป็นนะพี่น้อง)
ส่วนถ้าอยากรู้ว่า ชื่อไม้ของไทยเนี่ย ฝรั่งเค้าเรียกกันว่าอะไร ก็ให้ไป search ใน google ประมาณนี้
ไม้ฉำฉา ชื่อทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างข้อมูลของไม้เต็ง

Common Name(s): Balau
Scientific Name: Shorea spp.
Distribution: Southeast Asia
Tree Size: 150-200 ft (45-60 m) tall, 3-6 ft (1-2 m) trunk diameter
Average Dried Weight: 53 lbs/ft3 (845 kg/m3)
Specific Gravity (Basic, 12% MC): .62, .84
Janka Hardness: 1,560 lbf (6,940 N)
Modulus of Rupture: 18,400 lbf/in2 (126.9 MPa)
Elastic Modulus: 2,560,000 lbf/in2 (17.66 GPa)
Crushing Strength: 10,000 lbf/in2 (69.0 MPa)
Shrinkage: Radial: 6.2%, Tangential: 11.4%, Volumetric: 17.6%, T/R Ratio: 1.8

ถ้าเราไม่รู้จักค่าอันไหนก็เอาไป search ดูใน google อีกทีละกัน หรือ ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างไม้ 2 ชนิดก็ได้ ถ้าจะเลือกซื้อมาเพื่อใช้งาน

อีกตัวอย่างนึง

ไม้ฉำฉา

Common Name(s): Monkeypod, Monkey Pod
Scientific Name: Samanea saman (syn. Albizia saman, Pithecellobium saman)
Distribution: Central and South America, also planted/naturalized in many tropical regions of the world
Tree Size: 100-125 ft (30-38 m) tall, 3-4 ft (1-1.2 m) trunk diameter
Average Dried Weight: 38 lbs/ft3 (600 kg/m3)
Specific Gravity (Basic, 12% MC): .48, .60
Janka Hardness: 900 lbf (4,010 N)
Modulus of Rupture: 9,530 lbf/in2 (65.7 MPa)
Elastic Modulus: 1,149,000 lbf/in2 (7.92 GPa)
Crushing Strength: 5,790 lbf/in2 (39.9 MPa)
Shrinkage: Radial: 2.0%, Tangential: 3.4%, Volumetric: 6.0%, T/R Ratio: 1.7

รายละเอียดคุณสมบัติ
Modulus of Rupture
โมดูลัสแตกร้าว
กำลังประลัยที่กำหนดได้จากการทดสอบแรงดัดโค้งหรือแรงบิด ในการการทดสอบแรงดัด โมดูลัสการแตกร้าวการดัดงอคือความเค้นเส้นใยสูงสุดที่ทำให้เกิดความเสียหาย ในการทดสอบแรงบิด โมดูลัสการแตกร้าวจากแรงบิดคือค่าความเค้นเฉือนสูงสุดของเส้นใยทรงกลมที่ทำให้เกิดความเสียหาย คำที่สามารถใช้แทนกันได้คือความแข็งแรงดัดและความแข็งแรงบิด

Elastic Modulus (ความสามารถในการยืดหยุ่น มั้ง)มอดุลัสของยัง (Young's modulus) หรือ มอดุลัสของสภาพยืดหยุ่น (modulus of elasticity หรือ elastic modulus) เป็นค่าบอกระดับความแข็งเกร็ง (en:stiffness) ของวัสดุ ค่ามอดุลัสของยังหาจาก ค่าลิมิตของอัตราการเปลี่ยนแปลงของ ความเค้น (stress) ต่อ ความเครียด (strain) ที่ค่าความเค้นน้อย สามารถหาจากความชัน ของกราฟความสัมพันธ์ ความเค้น-ความเครียด (en:stress-strain curve) ที่ได้จากการทดลองดึง tensile test

ค่ามอดุลัสของยัง นั้นมีประโยชน์ใช้ในการคำนวณพฤติกรรมในการรับแรงของวัสดุ ตัวอย่างเช่น สามารถใช้ในการคาดคะเน ความยืดของลวดในขณะรับแรงดึง หรือคำนวณระดับแรงดันที่กดลงบนแท่งวัสดุ แล้วทำให้แท่งวัสดุยวบหักลง ในการคำนวณจริงอาจมีค่าอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย เช่น
 มอดุลัสของแรงเฉือน (shear modulus) อัตราส่วนของปัวซง (en:Poisson's ratio) และ ความหนาแน่น

Crushing Strength
ความสามารถในการทนต่อแรงบีบอัด



Shrinkage
การแตกของไม้ เกิดขึ้นในแนวไหน กี่%

รวบรวมแบบโต๊ะอาหารน่าๆ สไตล์ญี่ปุ่น

เป็นสไตล์ที่ออกแนวเรียบง่าย ดูโมเดิร์นและแฝงด้วยความอบอุ่น ความน่ารักในตัว ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนใหญ่มักจะดูบางเบา ไม่หนาเทอะทะ เหมือนสไตล์ยุโรปหรืออเมริกา



















วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

Design Award Chair

Mazunte เป็นเก้าอี้เตี้ย รูปทรงโมเดิร์นที่ถูกสร้างจากไม้อัดบีช เพียงแผ่นเดียว ถ้าเอาเก้าอี้นี้คลี่ออกในแนวราบจะเหมือนเป็นไม้อัดแผ่นเดียว ส่งเข้าประกวดในงาน  9th Andreu World International Design Competition


Mazunte
สามารถซ้อนกันได้
ผลิตขึ้นจากไม้อัดบีช เพียงแผ่นเดียว

2.) Seoto Dining Chair (เซโอโตะ)
รางวัล Good Design Awards 2012 : ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ในตำนานอย่าง  Motomi Kawakami ที่ใช้ไม้โอ๊คและวอลนัทของญี่ปุ่น มาผลิตเก้าอี้ที่ได้สมดุลในเรื่องของการนั่งและรูปร่างที่อ่อนช้อย นอกจากนี้ตัวเก้าอี้ยังออกแบบให้สามารถซ้อนกันได้อีกด้วย

SEOTO Dining Chair

จัดเป็นชุด

3.) Branca Chair
ได้รับรางวัลของ The Brit Insurance Design Awards เป็นเก้าอี้ที่ดูอ่อนช้อยมาก ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ Sam Hecht , Brand : Mattiazi ของอิตาลี

Branca Chair - Winning of The Brit Insurance Design Awards
4.) Corvo Chair
ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชาวฝรั่งเศส Noé Duchaufour-Lawrance ได้รางวัล Red Dot Design Award 2011 เก้าอี้ที่ออกแบบมาได้ดูแข็งแรง แต่แฝงไปด้วยความนุ่มนวล ลื่นไหล ดูเป็นธรรมชาติ

Corvo Chair

รายละเอียดด้านหลัง

Noé Duchaufour-Lawrance เจ้าของผลงาน
5.) Arne Jacobsen Egg Chair
ออกแบบโดย Arne Jacobsen เฟอร์นิเจอร์สัญชาติเดนมาร์ก ออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี 1958 โดยวางอยู่ในล็อบบี้ของโรงแรมโคเปนเฮเกน ในเว็บ icollector.com เปิดประมูลเก้าอี้ตัวนี้ โดยราคาที่ถูกประมูลได้สูงถึง 19000 USD เลยทีเดียว จากนั้นก็มีเวอร์ชั่น Replica ออกมาอีกเพียบจ้า

Arne Jacobsen Egg Chair

วันนี้พอแค่นี้ก่อน ไว้จะเอาผลงานของดีไซน์เนอร์ระดับโลก อย่าง
 Charles Eames, Hans Wegner and Eero Aarnio  มาให้ดูกัน