วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

How to Design Furniture?

How to Design Furniture?
  1. ก่อนที่จะคิดเรื่องการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ถ้ามีเฟอร์นิเจอร์ในแบบที่คุณต้องการอยู่แล้ว การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดอยู่แล้วจะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ถ้ามันไม่ตรงตามความต้องการของเรา นั่นหมายถึงเรากำลังต้องการเฟอร์นิเจอร์ประเภทสั่งทำ (Custom Built) ซึ่งมันจะทำให้เข้ากับความต้องการของเราที่สุด
  2. เมื่อเลือกว่าจะเอาเฟอร์นิเจอร์แบบที่สั่งทำ (Custom Built) แล้ว สิ่งที่ต้องทำขั้นต่อไปคือ ไปหาร้านค้าที่รับผลิตงานไม้ (woodworker shop) บอกลักษณะ รูปแบบ หรือ ฟังก์ชั่นที่อยากได้ และพวกเขาก็จะรับผลิตงานเฟอร์นิเจอร์นั้นให้แก่เรา แต่เราจะต้องทำให้แน่ใจว่า ทางร้าน/ช่างนั้น เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการ และจะสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามที่เราวาดไว้ในจินตนาการได้
  3. เพื่อจะให้ทั้งเราและผู้ผลิต เข้าใจได้ถูกต้อง ตรงกัน จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือบางอย่าง เช่น ภาพสินค้าจริง(ถ้ามี) , ภาพสเก็ต , drawing , 3D , ชิ้นงานจริง และอื่นๆ
  4. เราสามารถนำ drawing มาให้ร้านค้าเหล่านั้นทำการเสนอราคาตามแบบที่ต้องการได้ หรือถ้าไม่สามารถวาดแบบได้ด้วยตนเอง ก็อาจจะใช้บริการ Freelance Designer ให้ออกแบบให้ก็ได้  หรือบางครั้งร้านค้าที่รับผลิตงานไม้อาจจะมี Designer ที่จะช่วยเปลี่ยนความต้องการของคุณให้เป็นแบบ ได้เลยอีกด้วย
  5. ในการที่จะเขียน drawing หรือ sketch ภาพออกมานั้น , จำเป็นที่จะต้องเขียนให้ถูก scale เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการผลิต โดยเราสามารถที่จะใช้พื้นที่กว้างๆอย่างกำแพง หรือ การใช้กระดาษกราฟที่แบ่งเป็นช่องๆ แทนตัว scale size ก็ได้
    ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสน หรือ ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ทั้งในการเสนอราคา และ การผลิตชิ้นงานจริงๆ
  6. กรณีที่จะเขียนแบบ Drawing ก็ควรจะเขียนแบบลงในกระดาษหรือพื้นที่  ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ เพื่อให้สามารถอ่านมันได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ (เขียนลวกๆเล็กๆ เดี๋ยวผิดแล้วจะทะเลาะกับร้านค้าเปล่าๆ)
  7. เนื่องจากมันเป็นงานผลิตตามสั่ง เราสามารถต่อเติมจินตนาการลงไปได้เต็มที่ (แต่ราคาของงานขึ้นกับความยากง่าย ในการผลิตด้วยเช่นกัน) แต่ถ้าเราไม่เข้าใจถึงข้อจำกัดของวัสดุ หรือ วิธีการผลิต , ก็อาจจะขอความช่วยเหลือจากผู้ออกแบบ / ช่างผู้ผลิต ให้เขาแนะนำวิธี เพื่อลดต้นทุนการผลิตลงได้ หรือ ให้เขาช่วย Re-Design บางส่วนให้เราก็ได้
  8. ถ้าเราต้องการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ไว้ในห้องโล่งๆแล้ว เราอาจจะใช้เทปสีๆ มามาร์กขนาดโดยรวมของชิ้นงานที่จะผลิตขึ้น เพื่อให้เราพอที่จะทราบถึงสัดส่วนต่างๆของชิ้นงาน เมื่อนำมันมาวางในห้องจริงๆ จะได้ลดความผิดพลาดที่ว่า ทำมาแล้ววางไม่ได้เพราะใหญ่ไป หรือ วางแล้วมีพท.เหลือแบบน่าเกลียด
  9. หลังจากนั้นพยายามยืนห่างๆ จุดที่จะวาง และให้เราจินตนาการถึงภาพของเฟอร์นิเจอร์ที่เสร็จสมบูรณ์และได้จัดวางลงในพื้นที่ของคุณ โดยเทปที่มาร์กไว้จะช่วยให้เราจินตนาการถึงสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์กับพื้นที่ได้ง่ายขึ้น
  10. ถ้าการจินตนาการถึงเฟอร์นิเจอร์นั้นยังค่อนข้างลำบากอยู่ ลองหลับตาและจินตนาการดูอีกสักรอบ บางที การปิดประสาทสัมผัสทางตา อาจจะช่วยให้จินตนาการในหัวของเรานั้นออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติได้มากขึ้น หรือ ถ้ามันยังไม่ออกมาเป็นภาพให้เห็น ก็ไปจ้างช่างแบบวาดออกมาเป็นภาพให้ก็ได้
  11. หากว่าได้ทำการ sketch ภาพ หรือ ใช้เทปมาร์กที่พื้นที่เพื่อกำหนดขนาด,  มันจำเป็นที่จะต้องระบุ dimension ให้ชัดเจน และ ให้ละเอียดที่สุด , การให้ผู้ผลิตหรือdesigner กำหนด dimension ให้คุณ มันอาจจะไม่ตรงกับการใช้งานของคุณก็ได้ (สำหรับขนาดบางอย่าง คุณก็สามารถให้พวกเขาแนะนำให้คุณได้เช่นกัน)
  12. สำหรับตู้ ที่ต้องการวางกับพื้น ควรออกแบบให้ด้านล่างมีพื้นที่เผื่อไว้สักเล็กน้อย (ที่ช่างมักจะเรียกว่าขาตู้ cabinet base) เพื่อหลีกเลี่ยงนิ้วเท้าของคุณไม่ให้ไปเตะมัน
  13. โดยปรกติขนาดความสูงของขาตู้ที่นิยมคือ ประมาณ 4" แต่ก็อาจจะให้มันสูงขึ้นกว่านั้นก็ได้ แต่ให้คำนึงไว้สักนิดว่าการเพิ่มขนาดขาตู้ มันมีผลต่อความสูงโดยรวมด้วย (หรือถ้าให้สูงเท่าเดิม ก็จะต้องไปลดความสูงภายในของชั้น)
  14. ให้วัดสิ่งของต่างๆ ที่คุณคิดว่าจะใช้ตั้ง / ใส่ ในตู้  , ป้องกันไม่ให้ทำตู้ออกมาแล้วใช้งานจริงไม่ได้
  15. สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องเผื่อช่อง หรือ พื้นที่สำหรับให้มันถ่ายเทความร้อน หรือ ให้อากาศสามารถผ่านได้ เช่น การออกแบบช่องของตู้เย็น ไม่ควรฟิตกับตู้เย็นเกินไป อย่างน้อยอาจจะเหลือช่องด้านข้างไว้ ข้างละไม่น้อยกว่า 10 ซม. (รวมถึงเหลือพื้นที่ด้านบนไว้ด้วยเช่นกัน)
  16. สำหรับการวัดขนาดในรายละเอียดของเฟอร์นิเจอร์บางอย่าง แนะนำให้เราใช้ตัวเราเป็นมาตรฐานในการวัด เช่น ระดับความสูงที่ของชั้นบนสุด ถ้าคิดว่าจำเป็นต้องหยิบบ่อย ความสูงของชั้นบนสุดควรจะอยู่ในระดับที่มือเอื้อมถึง แต่ถ้าจะเก็บแบบลืม (นานๆใช้ที หรือ ลืมใช้ไปเลย) คุณก็อาจจะไว้ในส่วนที่สูงไปกว่าปรกติจะเอื้อมถึงก็ได้อยู่  หรือ ชั้นที่ด้านล่างๆ คุณสะดวกที่จะย่อตัวลงเพื่อหยิบ หรือ แค่โน้มตัวลงไปหยิบ  , หรือ ความสูงของทีวี ควรจะอยู่ระดับสาย ของเจ้าของห้อง เป็นต้น
  17. ถ้าเขียน dimension ทั้งหมดลงบน drawing แล้ว ซึ่งมันก็อาจจะดูเละเทะ สกปรกเลอะเทอะ เพราะอาจจะมีการขีดฆ่า หรือ ลบหลายๆรอบ ก็ควรจะลอกแบบที่สมบูรณ์ใส่กระดาษใหม่ให้เรียบร้อย
  18. อย่าลืมเขียน ความกว้างรวม ความลึก ความสูงให้ชัดเจน และ ทำลูกศรชี้ถึงวัสดุที่ใช้ด้วย
  19. เช็คว่าทุกๆส่วนของสิ่งที่ออกแบบสามารถ เข้าสถานที่ได้ โดยไม่ติดข้อจำกัดเช่น ขนาดความกว้างของประตู ความกว้าง-ความสูงของบันได  ความสูงห้อง ระยะถึงคาน ความลึก-กว้าง-สูงของลิฟท์ เป็นต้น (ถ้าจะให้ดี คำนึงตั้งแต่จุดที่จอดรถมาเลยก็ดี)
  20. อย่าลืมทำสำเนาแบบ drawing ไว้ สำหรับตัวเอง และ ร้านค้า , กำชับร้านค้าให้ทำตามที่แบบกำหนดไว้








วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โต๊ะนักเรียน ไม้ยางพารา - ความแข็งแรง

ในฐานะของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และครุภัณฑ์ มานานกว่า 30 ปี
ปรกติเราจะผลิตโต๊ะนักเรียนโดยอาศัยแบบมาตรฐานของทางราชการ ที่ได้ออกแบบไว้
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 (หรืออาจจะเก่ากว่านั้น แต่อ้างอิงแบบปี 36)

มาตรฐานโต๊ะนักเรียนที่ออกแบบมานั้น นับได้ว่า มีความแข็งแรง ทนทาน
เหมาะกับการใช้งานในโรงเรียนอย่างยิ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้งานที่หนักมาก
เพราะต้องรองรับการใช้งานโดยเฉลี่ยปีละ เกือบ 300 วัน และ วันละหลาย ชม.

รูปแบบของทางราชการจะมีโครงสร้างในการรับแรง ดังนี้


แต่เนื่องจากความต้องการในการขนส่งที่ประหยัด โต๊ะนักเรียนแบบ knockdown จึงเกิดขึ้น
และเนื่องจากความไม่เข้าใจในเรื่องโครงสร้างการรับแรง
(ซึ่งยอมรับว่าทางโรงงานก็เคยทำผิดพลาด ในการยอมทำตามแบบของเดิมของลูกค้าที่ไม่แข็งแรง)
การออกแบบโต๊ะให้มีลักษณะ knockdown นอกเสียจากการคำนึงถึงเรื่องให้สามารถถอดประกอบได้โดยสะดวกแล้วจะต้องไม่ลืมเรื่องการรับแรงของโครงสร้างที่เกิดขึ้น

นี่คือโครงสร้างโต๊ะนักเรียน knockdown แบบหนึ่งซึ่งอาจจะชำรุดได้ค่อนข้างง่าย


และเนื่องจากการออกแบบที่เป็น knockdown ส่วนที่มาชนกันถูกยึดด้วย น็อตหรือสกรู ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบขันไม่แน่นเพียงพอจะทำให้เกิดช่องว่าง และ ช่องว่างดังกล่าวทำให้เกิดการโยกได้ และเมื่อโยกบ่อยๆ (มีแรงมา กระทำต่อโต๊ะจากแนวราบ) จะส่งผลให้น็อตที่ขันค่อยๆหลวมขึ้น และเป็นสาเหตุหนึ่งของการชำรุด

ระบบ knockdown เป็นระบบที่ช่วยต่อการขนส่ง โดยปรกติลูกค้าที่นำไปใช้งานไม่ได้ต้องการถอดเข้าถอดออกอยู่แล้ว จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ knockdown system

สำหรับผู้ผลิตระบบนี้อาจจะช่วยลดค่าขนส่ง ในกรณีต้องขนส่งระยะทางไกลๆและจำนวนมากๆ
แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะทำระบบ knockdown ก็ควรจะวางโครงสร้างให้สามารถรับแรงได้ดีกว่า ตัวอย่างข้างต้นที่แสดง

ทาง หจก.ตั้งย่งฮั่วเฮง ซึ่งเป็นโรงงานผู้ผลิตครุภัณฑ์ราชการและครุภัณฑ์สำหรับโรงเรียน จะพยายามผลิตโต๊ะนักเรียนที่แข็งแรง เพื่อความปลอดภัยแก่นักเรียนทุกคน

By www.tangyonghuaheng.com , www.tangyongfurniture.com