วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไม้ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชื่อ

ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง ราคาแพงบ้าง ถูกบ้าง นอกจากนี้ ตัวไม้ยังมีชื่อมากมาย เช่น ไม้ชนิดเดียวกัน แต่นำไปปลูกกันคนละประเทศก็มีชื่อแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ไม้เต็ง ในภาษาอังกฤษ บางทีก็เรียก Selanganbatu เซรังกันบาตู (ไม่รู้อ่านถูกป่าวนะ) บางที่ก็เรียก Balau (บัลเลา)  แต่จริงๆแล้วมันก็คือไม้ชนิดเดียวกัน แต่บางทีอาจจะต้องเรียกว่ามันอยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้ บางทีสีมันต่างกัน ก็อาจจะมีเรียกแยกย่อยต่างกันไป เช่น เต็งเหลือง เต็งแดง เต็งมาเลย์ เต็งไทย มีชื่อได้อีกมากมายวุ่นวายไปหมด นอกจากนี้มันยังมีชื่อทางวิทยาศาสตร์อีก อย่างไม้เต็งนี่ชื่อ Shorea ชอเรีย (ไม่รู้อ่านถูกหรือเปล่าอีกรอบ)

คราวนี้ถ้าเราจะหาข้อมูลในเรื่องของชื่อไม้ ก็มีฝรั่งมั่งค่า เขารวบรวมเอาไว้เป็นฐานข้อมูลแล้ว ซึ่งสามารถไปดูได้ที่ WOOD DATABASE  โดยเราก็แค่พิมพ์ชื่อไม้ที่สงสัยลงไป ว่ามันอาจจะถูกเรียกในชื่อที่เรารู้จักก็ได้นะ เช่น ไม้ Red Cumaru (ดูของญี่ปุ่นมา คูมารุ) จริงๆก็คือ Brazilian Teak นั่นเอง นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติของไม้ให้ เช่น พวกความเค้น ความเครียด อะไรในไม้ (ไม้มันก็เครียดเป็นนะพี่น้อง)
ส่วนถ้าอยากรู้ว่า ชื่อไม้ของไทยเนี่ย ฝรั่งเค้าเรียกกันว่าอะไร ก็ให้ไป search ใน google ประมาณนี้
ไม้ฉำฉา ชื่อทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างข้อมูลของไม้เต็ง

Common Name(s): Balau
Scientific Name: Shorea spp.
Distribution: Southeast Asia
Tree Size: 150-200 ft (45-60 m) tall, 3-6 ft (1-2 m) trunk diameter
Average Dried Weight: 53 lbs/ft3 (845 kg/m3)
Specific Gravity (Basic, 12% MC): .62, .84
Janka Hardness: 1,560 lbf (6,940 N)
Modulus of Rupture: 18,400 lbf/in2 (126.9 MPa)
Elastic Modulus: 2,560,000 lbf/in2 (17.66 GPa)
Crushing Strength: 10,000 lbf/in2 (69.0 MPa)
Shrinkage: Radial: 6.2%, Tangential: 11.4%, Volumetric: 17.6%, T/R Ratio: 1.8

ถ้าเราไม่รู้จักค่าอันไหนก็เอาไป search ดูใน google อีกทีละกัน หรือ ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างไม้ 2 ชนิดก็ได้ ถ้าจะเลือกซื้อมาเพื่อใช้งาน

อีกตัวอย่างนึง

ไม้ฉำฉา

Common Name(s): Monkeypod, Monkey Pod
Scientific Name: Samanea saman (syn. Albizia saman, Pithecellobium saman)
Distribution: Central and South America, also planted/naturalized in many tropical regions of the world
Tree Size: 100-125 ft (30-38 m) tall, 3-4 ft (1-1.2 m) trunk diameter
Average Dried Weight: 38 lbs/ft3 (600 kg/m3)
Specific Gravity (Basic, 12% MC): .48, .60
Janka Hardness: 900 lbf (4,010 N)
Modulus of Rupture: 9,530 lbf/in2 (65.7 MPa)
Elastic Modulus: 1,149,000 lbf/in2 (7.92 GPa)
Crushing Strength: 5,790 lbf/in2 (39.9 MPa)
Shrinkage: Radial: 2.0%, Tangential: 3.4%, Volumetric: 6.0%, T/R Ratio: 1.7

รายละเอียดคุณสมบัติ
Modulus of Rupture
โมดูลัสแตกร้าว
กำลังประลัยที่กำหนดได้จากการทดสอบแรงดัดโค้งหรือแรงบิด ในการการทดสอบแรงดัด โมดูลัสการแตกร้าวการดัดงอคือความเค้นเส้นใยสูงสุดที่ทำให้เกิดความเสียหาย ในการทดสอบแรงบิด โมดูลัสการแตกร้าวจากแรงบิดคือค่าความเค้นเฉือนสูงสุดของเส้นใยทรงกลมที่ทำให้เกิดความเสียหาย คำที่สามารถใช้แทนกันได้คือความแข็งแรงดัดและความแข็งแรงบิด

Elastic Modulus (ความสามารถในการยืดหยุ่น มั้ง)มอดุลัสของยัง (Young's modulus) หรือ มอดุลัสของสภาพยืดหยุ่น (modulus of elasticity หรือ elastic modulus) เป็นค่าบอกระดับความแข็งเกร็ง (en:stiffness) ของวัสดุ ค่ามอดุลัสของยังหาจาก ค่าลิมิตของอัตราการเปลี่ยนแปลงของ ความเค้น (stress) ต่อ ความเครียด (strain) ที่ค่าความเค้นน้อย สามารถหาจากความชัน ของกราฟความสัมพันธ์ ความเค้น-ความเครียด (en:stress-strain curve) ที่ได้จากการทดลองดึง tensile test

ค่ามอดุลัสของยัง นั้นมีประโยชน์ใช้ในการคำนวณพฤติกรรมในการรับแรงของวัสดุ ตัวอย่างเช่น สามารถใช้ในการคาดคะเน ความยืดของลวดในขณะรับแรงดึง หรือคำนวณระดับแรงดันที่กดลงบนแท่งวัสดุ แล้วทำให้แท่งวัสดุยวบหักลง ในการคำนวณจริงอาจมีค่าอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย เช่น
 มอดุลัสของแรงเฉือน (shear modulus) อัตราส่วนของปัวซง (en:Poisson's ratio) และ ความหนาแน่น

Crushing Strength
ความสามารถในการทนต่อแรงบีบอัด



Shrinkage
การแตกของไม้ เกิดขึ้นในแนวไหน กี่%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น