การป้องกันและการรักษาเนื้อไม้
การผุของไม้เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์ที่มุ่งทำลายใยไม้ โดยทำการปัจจัยเสริม 4 ประการ คือ
1 ) มีอาหารที่ฟังไจชอบ
2 ) มีอุณหภูมิที่พอเหมาะกับฟังไจ
3) มีปริมาณอากาศที่เคลื่อนไหวน้อย
4) มีสภาพความชื้นที่พอเหมาะ
1 ) มีอาหารที่ฟังไจชอบ
2 ) มีอุณหภูมิที่พอเหมาะกับฟังไจ
3) มีปริมาณอากาศที่เคลื่อนไหวน้อย
4) มีสภาพความชื้นที่พอเหมาะ
ทั้ง 4 ประการนี้ถ้าขาดปัจจัยใดไป การทำลายของฟังไจก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากการที่เคยมีการขุดค้นทางโบราณคดี พบท่อนซุงในสมัยโบราณที่ใช้เป็นฐานกำแพงเมืองจมอยู่ใต้ดินนับร้อยปี ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีการผุเปื่อย เป็นเพราะซุงจมอยู่ใต้ดินและมีน้ำท่วมขังอยู่ตลอดปราศจากอากาศ
การป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ดีที่สุดคือ การทำให้อาหารของฟังไจเป็นพิษ โดยการอาบหรืออัดหรือทาน้ำยาที่เป็นพิษเข้าไปในเนื้อไม้ สามารถแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ
วิธีที่หนึ่ง การอาบน้ำยา
เป็นวิธีการอาบน้ำยาให้กับไม้ทั้งที่เป็นซุงหรือผ่านการแปรรูปมา แล้วก็ได้ โดยนำไม้ที่ต้องการอาบน้ำยาลงไปแช่ในถังอักน้ำยา ซึ่งจะทำการอัดน้ำยาด้วยแรงอัดภายในถังทำให้ยาสามารถซึมเข้าไปในเนื้อไม้ใด้อย่างทั่วถึง การอัดน้ำยายังสามารถแบ่งออกได้ 2 วิธี คือ
การอัดน้ำยาแบบเต็มเซลล์ ( Full cell process ) การอัดน้ำยาด้วยวิธีนี้เพื่อต้องการให้น้ำยาสามารถซึมเข้าไปในเซลล์เนื้อไม้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ กรรมวิธีเริ่มจากการนำไม้เข้าไปในถังแล้วทำการไล่อากาศและน้ำภายในเซลล์ไม้ออกให้หมดด้วยระบบสุญญากาศ จากนั้นจึงปล่อยน้ำยาเข้าถังด้วยแรงดันถึง 7- 13 กก./ตร.ซม. ที่อุณหภูมิ ประมาณ 80 – 100 องศา เซลล์เซีย เพื่อให้น้ำยาเข้าไปในเนื้อไม้ได้ทั่วทุกเซลล์นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นก็ลดแรงดันและปล่อยน้ำยาออกจากถัง ขณะเดียวกันก็ทำสุญญากาศอีกครั้งเพื่อไม้แห้ง แต่ในภายหลังอาจมีน้ำยาไหลเยิ้มออกมาได้
การอัดน้ำยาแบบไม่เต็มเซลล์ ( Empty cell process ) เป็นการอัดน้ำยาเพียงเพื่อให้น้ำยาซึมเข้าไปในเซลล์และเกาะติดอยู่ตามผิวของผนังเซลล์เท่านั้น โดยภายในช่องเซลล์ไม้จะว่างเปล่าไม่มีน้ำยา กรรมวิธีเริ่มจากการนำไม้เข้าไปในถังแล้วให้อากาศอัดเข้าไปในถัง อากาศที่อัดเข้าไปจะเข้าไปอยู่ในเซลล์ต่างๆของเนื้อไม้ด้วยรงอัด ประมาณ 2-7 กก./ ตร.ซม. จากนั้นปล่อยน้ำยาเข้าถังด้วยแรงอัดที่สูงกว่าครั้งแรกประมาณ 7 – 14 กก./ ตร . ซม. ปล่อยให้น้ำยาซึมเข้าไปในเนื้อไม้จนเต็มจากนั้นค่อยๆลดความดันภายในถังลงและปล่อยน้ำยาออกจากถัง ขณะเดียวกันเซลล์ไม้ที่ถูกอากาศอัดไว้ตอนแรกก็จะขยายตัวและขับเอาน้ำยาออกมาจากช่องเซลล์ จากนั้นก็ทำสุญญากาศอีกประมาณ 30- 45 นาที ก็จะทำให้เหลือน้ำยาเพียงที่ผิวของเซลล์ไม้ ทำให้ไม้แห้งและไม่มีน้ำยาไหลเยิ้มออกมาในภายหลัง วิธีนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
วิธีที่สอง การทาหรือการพ่น
เป็นวิธีการที่ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำ โดยการเอาแปรงทาหรือเครื่องพ่นหรือแช่ลงในถาดน้ำยา การทาหรือพ่นควรทำอย่างน้อยสองครั้ง ซึ่งน้ำยาจะซึมเข้าเนื้อไม้ไม่ลึกนัก และควรเป็นน้ำยาชนิดที่ดูดซึมเร็ว วิธีนี้อาจได้ผลไม่เต็มร้อย แต่ก็สามารถยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ได้ หรือทำให้ฟังไจเข้าไปไม่ได้ การผึ่งไม้ให้แห้งก่อนการทาหรือพ่นจะช่วยให้น้ำยาซึมซับเซลล์ไม้ได้ดีขึ้น และต้องระวังการแตก ฉีก ร้าว ของไม้เพราะเป็นทางเข้าของฟังไจได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น