วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วัตถุดิบประเภท -ไม้-

ไม้ เป็นวัตถุดิบที่ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งระยะเวลาในการผลิตไม้ของธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ ไม้แต่ละชนิด แต่ละประเภท มีระยะเวลาเติบโตที่แตกต่างกัน ซึ่งจากวันที่เริ่มปลูก ประคบประหงม จนถึง ต้นไม้มีขนาดพอสมควร เหมาะแก่การตัด เพื่อนำมาแปรรูป ให้ใช้งานได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่งาน ก่อสร้าง งานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่ง ของใช้ภายในครัว

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้
ระยะเวลาในการเติบโตของไม้ ก็ต่างกันเยอะมากในแต่ละชนิด บางชนิด 3 ปีก็พอนำมาใช้งาน บางชนิดอาจจะต้องถึง 20 ปี ถึงจะนำมาใช้งาน และถ้าอยากได้ไม้ที่คุณภาพดีขึ้น อาจจะต้องรออีกหลายปี เพื่อให้ได้ขนาด และ เนื้อไม้ที่แน่น-แกร่งพอที่จะนำมาใช้งาน

สมมุติว่าปลูกไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีระยะเวลาเติบโตพอที่สามารถตัดไม้นั้นมาใช้งานคือ 10 ปี หมายความว่า ถ้าเราต้องการจะใช้ไม้ชนิดนั้น ณ วันนี้ เราก็ต้องมาลุ้นๆว่า เมื่อ 10 ปีก่อน มีคนปลูกไม้ชนิดนั้นเพียงพอ (หรืออาจจะต้องมาจากป่าไหน สักป่าสินะ) กับความต้องการของมนุษย์อย่างเราๆท่านๆ หรือไม่

ไม้ที่ได้จากป่า

ดังนั้นเป็นไปได้ว่า ณ วันนี้ เราอาจจะไม่มีไม้ชนิดที่ต้องการ หรือ ถ้ามีแต่น้อย ราคาไม้ก็จะสูงขึ้นด้วยตามหลัก Demand Supply 

ไม้ที่ตัดมา มันก็เป็นท่อนซุง ต้องนำมาแปรรูป (ผ่า) ให้ได้ขนาดที่ต้องการใช้ ซึ่งโดยปรกติ คนที่ต้องการซื้อไม้มาใช้ ก็ไม่ใช่คนผ่า , ธุรกิจที่ทำหน้าที่ผ่าไม้ นี้ เราเรียกว่า โรงเลื่อย คือนำซุงมาผ่าให้ไม้นั้นออกมาเป็นขนาดต่างๆกัน โดยโรงเลื่อยอาจจะรับออเดอร์มาจาก ร้านค้าที่ขายไม้ หรือ อาจจะต้องมาวิเคราะห์ว่าจะผ่าไม้อย่างไร ให้ได้มูลค่าสูงสุด และ "ขายได้"

ไม้ซุง
ไม้แปรรูป


รูปแบบการผ่าไม้แปรรูป
ไม้ซุง 1 ท่อน ก็มีวิธีการผ่าอยู่หลายแบบ ดูจากในรูป เห็นมี อยู่ 3 แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็คงมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป และการผ่า ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเอาไม้หนาแค่ไหน จะตัดให้สั้น ให้ยาวเท่าไหร่ ก็ต้องมาคำนวนกันให้ดี สังเกตุ ทั้ง 3 วิธีเมื่อผ่ามาแล้ว มูลค่ารวมของไม้ที่ได้จะแตกต่างกัน

โดยปรกติ ไม้ที่ใหญ่ๆ (หน้ากว้างและหนา) ยาวๆ ย่อมมีราคาเทียบกับปริมาตรไม้ ที่สูงกว่า ไม้เล็กๆสั้น อยู่แล้ว แต่ยิ่งไม้ใหญ่ ความต้องการใช้ไม้หน้าใหญ่อาจจะมีน้อยกว่าไม้เล็ก และ ราคาขายถึงผู้บริโภคก็ย่อมแพงกว่าด้วย ดังนั้นถ้าเลือกที่จะทำแต่ไม้ใหญ่ๆมาเยอะๆ ก็อาจจะขายช้า เป็นต้น




การสั่งไม้ของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์

สมมุติว่าต้องการทำโต๊ะขนาด ยาว 1.50 ม. แต่ว่าไม้ที่หาได้ในขณะนั้นดันมีแต่ 2 ม.

ถ้าซื้อไม้ยาว 2 ม. มาตัดใช้งาน มันก็จะเหลือ 50 ซม. ที่ไม่รู้ว่าจะได้ใช้ไม้นั้นเมื่อไหร่

และธุรกิจที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง มันก็จะสะสมเศษเหล่านี้ ซึ่งเป็นความสูญเสีย ที่ปล่าวประโยชน์

เศษไม้ที่เหลือจากการผลิต
เศษไม้ที่เหลือจากการผลิต

ดังนั้นผู้สั่งไม้ อาจจะต้องดูว่า ถ้าเอาไม้ 3.00 ม. มาตัดได้ 1.50 ม. 2 ตัว ก็จะทำให้ไม่มีเศษเกิดขึ้น แต่เนื่องจากไม้ที่มาจากธรรมชาติ อาจจะเกิดการบิด งอ โค้ง แอ่น ได้อีก ดังน้ันจะผลิตงานอะไร  ก็จำเป็นต้องสั่งไม้เผื่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

นอกจากนี้ ไม้ยาว ที่ไม่หนามาก จะมีอัตราการบิด งอ ที่มากกว่า ไม้สั้น ดังนั้น ไม้ 3.00 ม. ก็ย่อมมี
ความเสี่ยงจากส่วนนี้มากขึ้น


อาการของไม้บิด งอ

นอกจากนี้ ในเรื่องของราคาไม้ ไม้ 3.00 ม. ก็มีแนวโน้มของราคาที่อาจจะสูงกว่าไม้ 2.00 ม. อีกด้วย (หรืออาจจะเท่ากันก็เป็นได้)

ดังนั้นถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการรับออเดอร์ที่หลากหลาย มีพื้นที่ในการเก็บวัตถุดิบจำนวนมาก
อาจเลือกที่จะสั่งไม้ยาว 2.00 ม. และใช้งานเพียง 1.50 ม. ก็ได้ ส่วนเศษที่เหลือก็จะเก็บไว้ใช้งานอื่น

โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ขนาดเล็ก


โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ขนาดใหญ่

ดังนั้นบุคลากรผู้ที่จะต้องทำการคำนวนราคาสินค้าและสั่งไม้มาเพื่อใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์  ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องสินค้าเป็นอย่างดี และ อาศัยศิลปะในการจัดการกับไม้ เพื่อลดความสูญเสียจากวัสดุให้ได้มากที่สุด

สนับสนุนบทความโดย
TangYongFurniture.com : ผู้ผลิต เฟอร์นิเจอร์ไม้ ,ครุภัณฑ์ราชการ , โต๊ะนักเรียน ,โต๊ะระดับ
- MuMuuFurniture.com : ผู้ผลิตและจำหน่าย โต๊ะอาหาร ,เก้าอี้อาหาร, เฟอร์นิเจอร์สำหรับร้านอาหาร หอพัก คอนโด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น